ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวาน  (อ่าน 75 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 711
    • ดูรายละเอียด
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวาน
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024, 14:35:46 น. »
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนส่งผลให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดในปริมาณมาก ถ้าหากปล่อยไว้ให้ร่างกายอยู่ในสภาพนี้ไปนาน ๆ จนทำให้อวัยวะต่าง ๆเสื่อมได้และอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ซึ่งในประเทศไทยของเราถือว่ามีผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งการที่นั้นมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการรับประทาอาหาร เพราะในเมืองไทยนั้นมีอาหารที่มีรสชาติจัด รวมไปถึงเรารับประทานรสหวานจึงทำให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย


สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย พบว่าคนไทยช่วงอายุ  20-79  ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 8.3 โดยสถิติมีการพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น เพราะเนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนลุกลามจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะสำคัญของร่างกาย เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรระมัดระวังและเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นสามารถรับประทานอาหารทางการแพทย์ได้ โดยอาหารทางการแพทย์ที่หลากหลายสูตร ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานก็สามารถรับประทานได้เช่นเดียวกัน

 

ในวันนี้เราจะมาพูดเรื่องของอาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวาน ซึ่งอาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวานนั้น เป็นกลุ่มของอาหารทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาสูตรออกมามากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปอาหารทางการแพทย์ สำหรับโรคเบาหวานมักจะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานต่ำกว่าอาหารทางการแพทย์สูตรอื่นๆ และจะมีการใช้คาร์โบไฮเดรตที่มีค่าน้ำตาลต่ำ เพื่อชะลอไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงมักจะมีใยอาหารที่มากกว่าสูตรทั่วไปด้วย แต่ก็จะมีสัดส่วนปริมาณโปรตีนสูงคือ 20 ของพลังงานทั้งหมด จึงอาจจะพิจารณาเลือกใช้ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีความต้องการโปรตีนเพิ่มสูงขึ้น ในกลุ่มผู้สูงอายุมีภาวะน้ำตาลสูง ก็อาจจะพิจารณาเลือกใช้สูตรอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรจะมัดระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วย ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุอาจจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยครั้ง


นอกจากต้องดูแลเรื่องการรับประทานอาหารมื้อหลัก แล้วอาจจะต้องมีการพิจารณาให้เลือกใช้อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น นอกจากการรับประทานอาหารทางการแพทย์แล้วการรักษาโรคเบาหวานสามารถทำได้ด้วยการรับประทานอาหาร ซึ่งการรักษาผู้ป่วยหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกาย โดยการฉีดยาเป็นหลักควบคู่กับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรกแรกสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการควบคุมน้ำหนักแต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรกทั้งต้องควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากเป็นพิเศษ


อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคลอเรสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรเน้นเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยอาหารสูง และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง หากเป็นสตรีมีครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน หากมีความเสี่ยงเพื่อสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เพราะจะส่งผลต่อร่างกาย ยกตัวอย่าง เช่น อาจจะเกิดผลกระทบต่อเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่นเบาหวานขึ้นตา โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ ที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนได้


อย่างไรก็ตามเราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้น ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง ทำให้เกิดอาการป่วยได้ เพราะฉะนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมปริมาณของอาหารที่รับประทานเข้าไปอย่างเหมาะสมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อที่ร่างกายจะได้มีสุขภาพดีสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น