ประกันบ้านเป็นอีกหนึ่งความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะหากซื้อบ้านแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาตามมาก็คือการเลือกประกันบ้านที่เหมาะสมกับเรา โดยประกันบ้านที่เราต้องทำก็มีทั้งแบบ (ถูก) บังคับทำและสมัครใจทำด้วยตัวเอง และประกันภัยบางตัวก็มีความคุ้มครองร่วมมาจาการซื้อบ้านอยู่แล้ว เราจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งหากใครไม่แน่ใจว่าเมื่อซื้อบ้านแล้วต้องทำประกันอะไรบ้าง \
ประกันบ้านชนิดที่ 1: คุ้มครองโครงสร้างอาคารและส่วนประกอบสำคัญภายในบ้านหรือคอนโด
ประกันบ้านชนิดแรกนี้เป็นการรับประกันจากผู้ขาย ในกรณีที่เราซื้อบ้านจากโครงการจัดสรร กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือการชำรุดของบ้านด้วย ซึ่งหมายความว่าหากบ้านหรือคอนโดเกิดความเสียหาย ผู้ขายก็ต้องแก้ไขซ่อมแซมให้ผู้ซื้อในเวลาที่สมควร
รายละเอียดเกี่ยวกับประกันบ้าน
- กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร เช่น เสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้น โครงหลังคา และผนังรับน้ำหนัก มีกำหนดการรับประกันภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
- กรณีคุ้มครองส่วนควบหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง รั้ว และกำแพงบ้าน มีกำหนดรับประกัน 1 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
รายละเอียดเกี่ยวกับกประกันคอนโด
กฎหมายอาคารชุดกำหนดให้ผู้ขาย ต้องรับผิดชอบความเสียหาย เนื่องจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุด (ทั้งโครงสร้างและส่วนประกอบของอาคาร) ในเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องรับประกันส่วนควบอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียนอาคารชุด
ประกันบ้านชนิดที่ 2 : ประกันอัคคีภัย
การทำประกันอัคคีภัยเป็นเรื่องสำคัญของทุกบ้าน โดยประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ประกันภัยบ้านหรือประกันคอนโด ที่มีทั้งภาคบังคับและการสมัครใจ หมายถึง ในกรณีเราซื้อบ้านหรือคอนโดโดยกู้เงินและจำนองบ้านกับธนาคาร ตามกฎหมายจะบังคับให้ต้องทำประกันอัคคีภัยด้วย จนกว่าจะหนี้สินจะหมดไป (มีลักษณะคล้ายกับซื้อรถยนต์แล้วผ่อนกับไฟแนนซ์)
กรณีประกันภัยบ้าน :
โดยหลังจากบ้านปลอดจำนองหรือผ่อนบ้านหมดแล้ว การทำประกันอัคคีภัยก็จะขึ้นอยู่กับเราว่าจะต่ออายุประกันต่อหรือไม่ ซึ่งจะไม่มีการบังคับใด ๆ แต่เราก็ขอแนะนำว่าควรต่อประกันอัคคีภัยไว้เสมอ เพราะเบี้ยประกันค่อนข้างถูก แต่ให้ความคุ้มครองเยอะ เช่น คุ้มครองกรณีภัยจากไฟไหม้, ฟ้าฝ่า, ระเบิด, ยานพาหนะ, อากาศยาน,อุบัติเหตุจากน้ำ, ลมพายุ,น้ำ ท่วม,แผ่นดินไหว และลูกเห็บ เป็นต้น
กรณีประกันอัคคีภัยคอนโด
หลายคนอาจสงสัยว่าประกันชนิดนี้ซ้ำซ้อนหรือไม่? เนื่องจากทางนิติฯ และเจ้าของห้องก็ต้องทำ (กรณีที่กู้หรือจำนองบ้านไว้กับธนาคาร) อันนี้ต้องบอกว่าไม่ซ้ำซ้อนกันเลย เพราะ นิติฯ จะทำประกันอัคคีภัยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ แต่สำหรับเจ้าของห้องจะเป็นการทำประกันอัคคีภัยเพื่อครองเฉพาะพื้นที่ส่วนบุคคล หรือเฉพาะห้องชุดของตัวเองเท่านั้น
ประกันบ้านชนิดที่ 3 : ประกันสินเชื่อบ้าน (MRTA)
สำหรับประกันสินเชื่อบ้าน (MRTA) คือประกันชีวิตที่คุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Reducing Term Assurance) ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันง่าย ๆ ว่า ประกันสินเชื่อบ้าน มักถูกเสนอขยายเวลาขอสินเชื่อ ถือเป็นประกันที่ผู้กู้สามารถเลือกทำได้ด้วยความสมัครใจ ไม่ถูกบังคับให้ทำ โดยถ้าไม่ทำก็ไม่มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อ เพียงแค่ธนาคารอาจจูงใจให้ทำหรือยื่นข้อเสนอพิเศษให้เท่านั้น เช่น ถ้าซื้อประกันสินเชื่อบ้านธนาคารก็จะลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ เป็นต้น
หลักการของประกันสินเชื่อบ้าน
ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตหรือไม่มีความสามารถผ่อนบ้านได้อีกต่อไป หากเกิดเหตุแบบนี้บริษัทประกันจะรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้กับธนาคารเอง
แต่เนื่องจากเบี้ยประกันสินเชื่อบ้านค่อนข้างสูงและต้องชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว แม้สามารถกู้หรือผ่อนได้แต่ดอกเบี้ยก็ไม่ใช่ราคาถูก อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นประกันแบบที่จำนวนเงินเอาประกันภัยลดลงตามภาระหนี้ที่ลดลง ดังนั้น ผู้กู้จึงควรเปรียบเทียบความคุ้มค่าและตัดสินใจให้ดี ๆ โดยสำหรับบางคน เช่น ผู้กู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นผู้หารายได้หลักหรือรับภาระผ่อนบ้านคนเดียว การทำประกันสินเชื่อบ้านจึงเป็นเรื่องที่อาจจำเป็น แต่ก็อาจไม่จำเป็นได้ หากผู้กู้มีประกันชีวิตอื่นอยู่แล้วหรือหากผู้กู้เสียชีวิตไปคนที่อยู่ข้างหลังก็ยังสามารถผ่อนบ้านต่อได้
แบบบ้านราคาถูก: ซื้อบ้านต้องทำประกันอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://realestatebb.com/